สรุประบบกรอง

ตอนนี้บ่อปลาคาร์ฟของผมเรียกได้ว่าระบบเวิร์คแล้วผมจึงสรุปให้ฟังครับว่าผมใช้อะไรเป็นวัสดุกรองบ้าง โดยแบ่งเป็นกรองในบ่อ กับกรองนอกบ่อนะครับ เพราะว่าบ่อผมตอนแรกมีกรองในบ่ออย่างเดียวแล้วน้ำไม่หายเขียว เลยทำถังกรองนอกบ่อช่วย ซึ่งยังไม่ได้ทดลองเหมือนกันว่าถ้าหากเลิกใช้กรองนอกจะเอาอยู่หรือปล่าว เอาไว้จะมาอัปเดทให้ทราบกันอีกครั้ง

ระบบกรองในบ่อ


เป็นระบบน้ำล้นขึ้นลง ความลึกในการจุวัสดุกรองในแต่ละช่อง 30 เซนติดเมตรหรือมากกว่า
บ่อกรองกว้าง(วัดภายในช่องกรอง) ประมาณ 30 - 35 ซม.

ช่องที่ 1 ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร เป็นช่องน้ำเข้ามาจากสะดือบ่อกับน้ำผิวหน้า ปล่อยว่างไม่มีวัสดุกรอง ผมใช้ดักตะกอนร่วมกับช่องที่ 2

ช่องที่ 2 ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ใช้อวนเป็นวัสดุกรองอย่างเดียวแล้วหาวัสดุกดทับไว้ เพราะน้ำจะลอดจากช่องที่ 1 ด้านล่างแล้วล้นขึ้นมา เพื่อไปช่องที่ 3

ช่องที่ 3 ยาวประมาณ 15-18 เซนติเมตร ใช้สก๊อตไบร์ทวางบนสุด รองด้วยตาข่ายพลาสติกที่วางอยู่บนกระถางพลาสติกที่เอามาดัดแปลงทำที่รองสก๊อตไบท์ น้ำในช่องที่ 3 นี้ จะล้นมาจากชอ่งที่ 2 แล้วไหลผ่านกรองลงไปแล้วมุดขึ้นไปที่ช่อง 4

ช่องที่ 4 ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ใช้ไบโอบอล 4 ถุง ลอยไว้ในน้ำ โดยใช้ตาข่ายพลาสติกกันน้ำระหว่างช่องกรองที่ 4 กับที่ 5 ไม่ให้ไบโอบอลหลุดรอดเข้าไปในช่องที่ 5 ได้ ลักษณะของไบโอบอลที่ลอยไว้ผมใช้แทนพวกมูฟวิ่งเบดครับ เพราะว่าไม่อยากซื้อ คิดว่าเป็นที่อยู่แบคทีเรียได้เหมือนกัน ส่วนออกซิเจนผมก็ใช้น้ำจากช่องที่ 5 ที่เข้าบ่อ แบ่งมาใส่ในช่องที่ 4 เพื่อสร้าง ออกซิเจนให้แบคทีเรียครับ และประโยชน์ของการแบ่งน้ำกลับมาอีกอย่างคือ น้ำจะไหลผ่านช่องกรองแต่ละช่องช้าลงทำให้ระบบสเถียรขึ้นโดยที่บ่อกรองไม่ต้องใหญ่



ช่องที่ 5 ยาวประมาณ 50-60 เซนติเมตร ไม่มีวัสดุกรอง เป็นช่องให้ปั๊มน้ำดูดน้ำกลับเข้าบ่อเลี้ยงครับ



ระบบกรองนอกบ่อ(กรองถัง)
อันนี้ต่อไปผมอาจจะลดระบบนี้ออกก็ได้นะครับถ้าหากว่าระบบในบ่ออย่างเดียวเอาอยู่ แต่ก็เขียนไว้ให้ได้ทำกันครับ เผื่อใครไม่มีระบบกรองในบ่อ




-ระบบกรองจากล่างขึ้นบน

อุปกรณ์
-ถังน้ำหรือถังขยะพลาสติกขนาด 20 แกลลอน ราคา 99 หรือ 89 บาทซื้อตอนโลตัสลดราคา
-ข้อต่อตรงเกลียวใน 1 ตัว
-ข้อต่อตรงเกลียวนอก 1 ตัว

วัสดุกรอง ไล่จากล่างขึ้นบน
-หินกลมจัดตู้ปลาประมาณ 10-15 โล แบ่งมัดใส่อวนหรือมุ้งมัดละ 1-2 โล มัดหลวมๆ
-หินเล็กจัดตู้ปลา 20 โล ผมซื้อเป็นกระสอบละ 25 โล 200 บาท แบ่งมัดใส่อวนหรือมุ้งมัดละ 1-2 โล มัดหลวมๆ
-ใยกรองสีเขียว(เหมือนสกอ็อตไบร์ท) 2 ถุง
-วัสดุกดทับ ถ้าใครซื้อประการังได้ผมแนะนำครับ เพราะว่ามันหนักกว่าหินที่ผมใช้ครับจะทับได้ดีกว่าและเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียได้ดีด้วย

การประกอบ
ก็ทำตามภาพได้เลยนะครับ ส่วนท่อที่เอาน้ำเข้าก้นถังนั้นก็ต่อสามทางให้เป็นตัวทีนะครับ แล้วก็ใช้ข้องอ 90 องศา สวมอีกทีให้ทิศทางน้ำไหลเป็นวงกลมอยู่ด้านล่าง น่าจะพอนึกออกนะครับ แล้วก็เอาตาข่ายพลาสติกลองก่อนใส่หินหรือว่าสัสดุกรองครับ


ชิ้นส่วนทุกชิ้นผมไม่ได้ทากาวแต่อย่างใดก็ไม่มีปัญหาน้ำรั่วหรืออย่างใดครับ จะได้เคลื่อนย้ายหรือทำความสะอาดได้สะดวกนั่นเอง

หวังว่าจะเป็นแนวทางในการทำกรองบ่อปลาคาร์ฟที่บ้านแบบประหยัดๆให้ทุกคนได้ไม่มากก็น้อยนะครับผม

บ่อผมน้ำเขียวมาประมาณสามเดือน ปรับปรุงกรองมาเรื่อยๆจนใสร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วครับ โดยไม่ต้องใช้ของแพง ไม่ต้องใช้มูฟวิ่งเบด ไม่ต้องใช้วัสดุกรอง KK2 อะไรต่างๆนานา กรองไม่ต้องใหญ่ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องเสียตังส์ค่าไฟเพิ่มค่าปั๊มลม เชื่อผมครับ


รูปตอนที่น้ำเขียว


หลังจากปรับปรุงกรอง

หลังจากปรับปรุงกรองจนใส 100%
รูปบ่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557

รูปบ่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557

รูปบ่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557

15 ความคิดเห็น:

  1. สรุปให้หน่อยได้มั้ยครับว่าค่าใช้จ่ายตั้งแต่เริ่มขุดบ่อ จนกระทั่งเสร็จใช้งบไปเท่าไหร่ครับ..คร่าวๆ ก็ได้ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ส่วนของบ่อ 20000 ครับ กว้าง 180 - 200 เซน ยาว 5 เมตรกว่า ลึก 50 เซน ส่วนที่ลึกสุด 80 เซน
      บ่อกรองล฿ก 80 เซน กว้าง 40 เซน ยาว 40 เซน 5 ช่อง

      อุปกรณ์กรองทั้งหมด ประมาณ 2000 หรืออาจจะไม่ถึงด้วย
      ปั๊มน้ำ Ha20 4พันกว่า

      รวมๆแล้วก็ไม่เกิน 3 หมื่นครับ

      ไม่มีค่าแรงอะไรทั้งนั้นเพราะผมขุดเอง ก่อ ฉาบ ทำเองทั้งบ่อครับ

      ลบ
  2. อ่อลืมบอกว่าเป็นบ่อระบบน้ำปริ่มบ่อครับ เพราะชอบแบบนี้ ไม่ชอบบ่อที่ขอบบ่อสูงมากกว่าน้ำ เพราะรู้สึกว่าไม่สวยและทำให้บ่อดูแคบครับ

    ตอบลบ
  3. เห็นด้วยอย่างยิ่ง ผมเคยมีบ่อครูที่บางบัวทอง เพาะแบคทีเรียจากมุ้งสแลน กรองเล็กนิดเดียวแต่เพิ่มพื้นที่ความลึกของกรอง ใช้แรงตึงผิวของน้ำล้นเข้าบ่อกรองแล้ววนน้ำกลับทางด้านใต้บ่อ เท่านี้ระบบก็สมดุลย์ ไม่ต้องพูดถึงค่าอะไรต่างหรอก เพียงเท่านี้ผมก็สร้างค่ามาตรฐานได้ แต่ต้องยกประโยชน์ให้กับจุลินทรี EM พระเอกตัวจริง น้ำใสทะลุ ปลาโตไว แต่เสียดายที่ต้องพึ่งระบบไฟฟ้ามากเกินไป ท้ายสุดไปเล่นดนตรีต่างจังหวัดหมาเตะปลั๊ก ตายเกือบยกบ่อ

    ตอบลบ
  4. ผมชอบมากครับ เพิ่งได้มีโอกาสอ่าน ผมไล่อ่านตั้งแต่ต้นจนจบมีประโยชน์มาก มีคำถามเยอะเยอะอยากจะปรึกษา ไม่เล่นfacebookบ้างเหรอครับ ง่ายต่อการสอบถาม อิอิ

    ตอบลบ
  5. ชอบครับอยากได้รับคำแนะนำเรื่องการวางระบบยังงงอยู่ครับอยากเลี้ยงนะครับแต่ไม่มีความรู้

    ตอบลบ
  6. อยากขอคำแนะนำเพิ่มเติมครับสามารถติดต่อได้ยังไงครับ

    ตอบลบ
  7. เพิ่งได้อ่านคะ เยี่ยมมาก จะลองทำดูบ้าง ขอบคุณมากสำหรับการเผื่อแผ่ประสบการณ์ของคุณให้กับคนรักปลาอย่างเราได้ร่วมรับรู้คะ
    ตอนนี้ปลาทั้งหลายคงมีความสุขดี ขอบคุณอีกครั้งคะ

    ตอบลบ
  8. Em ทำยังใง ช่วยบอกหน่อยคับ

    ตอบลบ
  9. Em ทำยังใง ช่วยบอกหน่อยคับ

    ตอบลบ
  10. สวัสดีครับ บ่อกรองผมเล็กและมีแค่สามช่องเองใช้งานไม่กี่วันของเสียเต็มเลยครับและผมไม่รู้จะใส่อะไรในแต่ล่ะช่องหรือต้องตัดสินใจขุดอีอบ่อนึงครับหรือคิดทำทั้งกรองน้ำดีครับถ้าผมจะใส่อุปรณ์กรองในแต่ล่ะช่องผมจะเอาปั้มน้ำวางบนและต่อท่อลงไปสูบน้ำได้หรือเปล่าครับช่วยให้คำแนะนำผมหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  11. AFM®
    Aquarium application:

    ปัญหา:
     บ่อเลี้ยงปลา กุ้ง สัตว์น้ำ มักประสบปัญหาน้ำมีสีเขียว ขุ่น มีตะไคร่น้ำจำนวนมาก ต้องทำการล้างบ่ออยู่เป็นประจำ
     ปัญหาเรื่องเชื้อพยาธิ ปรสิต ในบ่อเลี้ยงปลา ทำให้ปลาเกิดโรคพยาธิ
    คุณสมบัติพิเศษ:
    • AFM® สามารถกรองตะกอนขุ่นของน้ำ (Turbidity removal) ที่เกิดจากเศษอาหารที่ใช้เลี้ยงปลา ขี้ปลา เศษวัชพืชในน้ำ ให้เหลือน้อยกว่า 0.05 NTU ทำให้น้ำในบ่อเลี้ยงปลาใสตลอดเวลา และลด TSS (Total Suspended Solid) ได้มากกว่า 90%
    • AFM® สามารถกรองเชื้อแบคทีเรีย เชื้อพยาธิ ปรสิต ที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 ไมครอน หรือ 0.001 มิลลิเมตรได้
    • AFM® สามารถดูดจับ สารเคมี ที่เป็นอันตราย เช่น Herbicides (ยากำจัดวัชพืช) ได้
    • AFM® สามารถดูดจับ (Adsorption) สารอินทรีย์ และ สารอนินทรีย์ฟอสเฟตได้
     ฟอสเฟต ในรูปสารอินทรีย์ ที่พบในแพลงก์ตอน สาหร่าย และรูปแบบแบคทีเรีย
     ฟอสเฟต ในรูปสารอนินทรีย์ หรือในรูปของแข็ง หรือ เรียกว่า ฟอสฟอรัส
     ฟอสเฟตที่ละลายน้ำ เรียกว่า Ortho-phosphate
    • AFM® สามารถลดค่า DOC หรือ สารอินทรีย์คาร์บอนที่ละลายในน้ำ โดย การกำจัดสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ (A Negative Zeta potential of AFM adsorbs small particles and dissolved organic molecules from water)
     เมื่อ ค่า DOC ลดลง ค่า TOC (ค่าสารอินทรีย์คาร์บอนรวม ที่อยู่ในน้ำ) ก็จะลดลงตาม
     สารอินทรีย์คาร์บอนในน้ำ ก็คืออาหารของเชื้อแบคทีเรีย
     เมื่อเชื้อแบคทีเรียมีจำนวนมาก ความต้องการใช้ออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากแบคทีเรียนำไปใช้
     เมื่อเกิดการขับถ่ายของแบคทีเรีย จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากในน้ำ และ ที่สำคัญสารอินทรีย์คาร์บอนยังเป็นอาหารของเชื้อ Vibrio Sp. ที่เป็นสาเหตุของโรคกุ้งทั้งหลายด้วย
     แบคทีเรียที่เป็นสารอินทรีย์ในน้ำต้องการออกซิเจน (Aerobic bacteria) ในการย่อยสลายสารอนินทรีย์ ความต้องการออกซิเจนของแบคทีเรียนี้จะทำให้จะทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำลดลง
     ไนโตรเจน เป็นธาตุอาหารสำคัญสำหรับพืช ซึ่งจะอยู่ในรูปของ แอมโมเนีย-ไนโตรเจน ไนไตรท ไนเตรท ยิ่งถ้าในน้ำมีปริมาณไนโตรเจนสูง จะทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
    • พืช สามารถสังเคราะห์สารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนได้
    • สัตว์เมื่อกินพืชก็จะขับถ่ายไนโตรเจนออกมาในรูปสารอินทรีย์
    • จุลินทรีย์จะทำการเปลี่ยนให้เป็นไนโตรเจนในรูปสารอนินทรีย์ ได้แก่ แอมโมเนีย เราเรียกวัฎจักรนี้ว่า Ammonification แอมโมเนียอีกส่วนหนึ่งจะถูกออกซิไดซ์โดยแบคทีเรียพวก Nitrosomonas และ Nitrobacter ได้เป็น Nitrite และ Nitrate ตามลำดับ ภายใต้สภาพมีอากาศ
    • ขบวนการทำงาน ด้วยสารกรอง AFM® และ ACO®
     AFM® ทำการกรอง สารอินทรีย์ และกรองแบคทีเรียทิ้ง
     ACO® ทำการเปลี่ยนรูปของสารอินทรีย์ไนโตรเจน ให้เป็นก๊าซไนโตรเจน เพื่อให้ก๊าซระเหยไปในชั้นอากาศ ขอข้อมูลเพิ่มเติม 084-642-6663

    ตอบลบ
  12. ปลาจะกระโดดมั่ยค่ะ...เพราะที่บ้านไม่กล้าใส่น้ำเยอะกลัวปลากระโดดค่ะ

    ตอบลบ